บ้านใหม่ร้าวปกติไหม สำหรับใครที่เพิ่งสร้างใหม่บ้าน หรือซื้อบ้านใหม่ กำลังจะย้ายเข้าอยู่แล้วไปสังเกตเห็นรอยร้าว จะแค่ทาสีทับเพื่อปิดรอยร้าวนั้น แต่อีกใจหนึ่งก็หวั่น ๆ ว่ารอยร้าวนั้นจะมีผลต่อโครงสร้างบ้านหรือไม่ หรือเป็นสัญญาณเตือนที่เป็นอันตรายให้ต้องระวัง และยังมีปัจจัยอะไรอีกบ้างที่ต้องพิจารณา
บ้านใหม่ร้าว เกิดจากอะไร
เมื่อเกิดปัญหาบ้านร้าว ยิ่งเป็นบ้านใหม่ด้วยแล้ว คงไม่อาจนิ่งนอนใจ เพราะกลัวว่าจะลุกลามบานปลาย รอยร้าวขยายวงกว้าง ส่งผลไปถึงโครงสร้างบ้าน แต่ก่อนจะแก้ไขรอยร้าวที่เกิดขึ้น จำเป็นจะต้องรู้สาเหตุที่ทำให้บ้านใหม่ร้าว ปกติไหม เพื่อจะได้แก้ไขได้ตรงจุดและไม่เกิดปัญหาซ้ำ
โดยสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้บ้านใหม่ร้าว เกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น
1. คุณภาพของวัสดุที่ใช้ก่อสร้างไม่ดี เช่น ปูนที่ใช้ฉาบไม่แข็งแรง อิฐที่ใช้ก่อไม่ทนทาน
2. การก่อสร้างไม่ได้มาตรฐาน เช่น วางฐานรากไม่แข็งแรง ติดตั้งเสาคานไม่ถูกต้อง
3. สภาพอากาศ เช่น ความร้อน ความชื้น การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ
4. การขยายตัวของวัสดุ เช่น วัสดุประเภทโลหะหรือไม้ขยายตัวเมื่อได้รับความร้อน
5. การทรุดตัวของพื้นดิน เช่น พื้นดินอ่อนนุ่มและทรุดตัวได้ง่าย
บ้านทรุด 3 สาเหตุและสัญญาณเตือนบ้านทรุด รุดแก้ก่อนบ้านพัง
รอยร้าวในบ้านใหม่อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง หรืออาจเกิดขึ้นภายหลังจากที่ย้ายเข้าอยู่อาศัยไปแล้ว มักพบได้บริเวณต่าง ๆ เช่น ผนังบ้าน, พื้น, ฝ้า และเพดาน ซึ่งลักษณะและประเภทของรอยร้าวจะมีความแตกต่างกัน
จุดที่มักเกิดรอยร้าวในบ้าน ปัญหาที่เกิดขึ้น
ผนังบ้านร้าว ฐานรากมีปัญหา ส่งผลต่อโครงสร้างบ้านเกิดการทรุดตัว
พื้นบ้านร้าว สะดุดล้ม บาดเจ็บต่อร่างกาย และอาจกระทบโครงสร้างบ้าน
ฝ้าเพดานร้าว เพดานมีน้ำรั่วซึม รอยแตกร้าวขยายขนาดใหญ่ขึ้น เพดานถล่ม
ลักษณะและประเภทของรอยร้าวบ้าน
1. รอยร้าวผนังแบบแตกลายงา
รอยร้าวผนังพบได้บ่อยมากที่สุด บ้านใหม่ร้าว ปกติไหม ถ้าเป็นลักษณะนี้ไม่เป็นอันตราย ไม่ส่งผลต่อโครงสร้างภายใน แต่ก็ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เพราะเมื่อเกิดฝนตก ผนังจะกักเก็บความชื้น ทำให้ผนังบวม เกิดปัญหาสีลอกร่อนและเชื้อราได้
2. รอยร้าวผนังแบบแนวทแยง หรือแบบเฉียงกลางผนัง
ถ้าบ้านใหม่ร้าว ลักษณะนี้ต้องรีบแก้ไขโดยด่วน เพราะอาจเกิดจากปัญหาฐานรากที่เกิดจากเสาบางต้นในบ้านมีการทรุดตัว ไม่สามารถรับน้ำหนักได้ดีเหมือนเดิม ส่งผลให้ผนังแตกร้าวลงมา หรืออาจเกิดได้จากการต่อเติมบ้านใหม่ไม่ถูกวิธี ซึ่งเป็นอันตราย ควรรีบปรึกษาช่างผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาทางแก้ไขได้อย่างทันท่วงที
ต่อเติมบ้านอย่างไรให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
3. รอยร้าวเฉียง ๆ ตามมุมขอบวงกบหน้าต่าง หรือบานประตู
หากรอยร้าวไม่ได้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน สันนิษฐานเบื้องต้นว่าเกิดจากการยืดขยายของวงกบหน้าต่าง หรือบานประตู ที่อาจจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นทำให้โครงสร้างภายในมีการขยายตัว แต่ถ้าอุณหภูมิลดลงก็ทำให้โครงสร้างมีการหดตัวได้ บ้านใหม่ร้าว ลักษณะนี้ถือว่าไม่รุนแรง สามารถซ่อมแซมได้เอง
4. รอยร้าวผนังแนวดิ่งกลางคาน
เป็นสัญญาณเตือนของปัญหาโครงสร้างบ้าน เกิดได้จากการที่คานรับน้ำหนักมากเกินไป ทำให้หินหรืออิฐภายในผนังดันตัวจนเกิดเป็นรอยร้าว การคำนวณน้ำหนักโครงสร้างที่ผิดพลาด ทำให้บ้านรับน้ำหนักได้ต่ำกว่ามาตรฐาน บ้านใหม่ร้าว ลักษณะนี้เป็นอันตราย ควรเรียกช่างผู้เชี่ยวชาญมาซ่อมแซมโดยด่วน และทำการย้ายของจากชั้นบนลงมาเพื่อเป็นการถ่ายเทน้ำหนักในเบื้องต้นก่อน
5. รอยร้าวแนวเฉียงที่หัวเสาไปจนถึงคาน
พบได้ทั้งแบบแนวเฉียง หรือแนวดิ่ง โดยมักจะเกิดขึ้นกับปลายทั้งสองข้างของคาน สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากคานไม่สามารถรับน้ำหนักได้ไหว หรือรับน้ำหนักมากเกินกว่าที่คำนวณไว้ ทำให้เสาและคานแยกตัวออกจากกัน บ้านใหม่ร้าว ลักษณะนี้อันตราย อาจทำให้บ้านทรุด ถล่มลงมาได้ ควรเรียกผู้เชี่ยวชาญเข้ามาแก้ไขโดยด่วน
6. รอยร้าวบนพื้น
สังเกตรอยร้าวบนพื้นซึ่งอาจมีลักษณะที่แตกต่างกันไป เป็นสัญญาณเตือนและอาการแสดงของปัญหาที่แตกต่างกัน เช่น พื้นแอ่นตัว คอนกรีตอาจมีการยืดและหดตัวตามสภาพภูมิอากาศ หากเป็นรอยร้าวลึกให้ระมัดระวังในเรื่องของการรั่วซึม เพราะอาจส่งผลต่อโครงสร้างของเหล็กภายในที่อาจก่อให้เกิดสนิม และแตกร้าวออกมาได้
วิธีแก้ไขบ้านใหม่ร้าว
หากพบรอยร้าวในบ้านใหม่ มีข้อสงสัยว่าบ้านใหม่ร้าว ปกติไหม ควรรีบตรวจสอบและแก้ไขโดยเร็ว เพราะรอยร้าวอาจลุกลามจนทำให้โครงสร้างบ้านเสียหายได้ ก่อนย้ายเข้าบ้านใหม่ จึงควรตรวจเช็กให้ดี ๆ ดังนี้
1. ตรวจเช็กบ้านใหม่อย่างละเอียดก่อนย้ายเข้าอยู่อาศัย โดยอาจจ้างวิศวกรมาตรวจประเมิน
2. สังเกตรอยร้าวบริเวณผนัง พื้น ฝ้าเพดาน หากพบรอยร้าว ควรวัดขนาดและลักษณะของรอยร้าว
3. หากรอยร้าวมีขนาดใหญ่หรือมีความยาวมาก ควรรีบปรึกษาวิศวกรเพื่อตรวจสอบและแก้ไข เพื่อความปลอดภัย
ซ่อมบำรุงอาคาร: บ้านใหม่ร้าวปกติไหม เกิดจากอะไร เช็ก 6 รอยร้าวแบบไหนอันตราย อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://snss.co.th/dt_post/technical-services/