ผู้เขียน หัวข้อ: ข้อมูลโรค: ภาวะพร่องแล็กเทส (Lactase deficiency)  (อ่าน 242 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 500
  • รับโปรโมทเว็บ, บริการโพสประกาศ
    • ดูรายละเอียด
ข้อมูลโรค: ภาวะพร่องแล็กเทส (Lactase deficiency)
« เมื่อ: วันที่ 20 พฤศจิกายน 2023, 15:14:48 น. »
ภาวะพร่องแล็กเทส

แล็กเทส เป็นเอนไซม์ที่สร้างโดยเยื่อบุลำไส้เล็ก ทำหน้าที่ย่อยแล็กโทส (lactose) ซึ่งเป็นน้ำตาลที่มีอยู่ในน้ำนม (ทั้งนมมารดา นมวัว และนมแพะ) ให้แตกออกเป็นกลูโคสและกาแล็กโทส (galactose) ซึ่งมีขนาดเล็กลง ง่ายต่อการดูดซึม ถ้าหากลำไส้พร่องเอนไซม์ชนิดนี้ น้ำตาลแล็กโทสจะไม่ถูกย่อย และไม่ถูกลำไส้ดูดซึม ทำให้มีการดึงดูดน้ำเข้ามาในลำไส้ เกิดอาการท้องเดิน และเมื่อแล็กโทสผ่านลงไปในลำไส้ใหญ่ก็จะมีการทำปฏิกิริยากับแบคทีเรีย เกิดแก๊ส (ลม) ในลำไส้ (ทำให้ท้องอืด) กรดแล็กติก และสารที่มีฤทธิ์เป็นกรดซึ่งจะออกมาในอุจจาระ (ทำให้ท้องเดิน)

ภาวะนี้พบในคนทุกวัย มักเริ่มพบตั้งแต่ในช่วงวัยรุ่นและวัยหนุ่มสาว พบได้น้อยในทารก

อาการท้องเดินที่เกิดจากภาวะนี้ มักจะเรียกว่า ภาวะไม่ทนต่อแล็กโทส (lactose intolerance)


สาเหตุ

ส่วนใหญ่เป็นภาวะพร่องแล็กเทสชนิดปฐมภูมิ ซึ่งไม่มีสาเหตุชักนำ เป็นภาวะที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของลำไส้เล็กที่มีการสร้างเอนไซม์ชนิดนี้มากตอนแรกเกิด และจะค่อย ๆ สร้างได้น้อยลงไปเรื่อย ๆ เมื่อเข้าสู่วัยเด็กวัยรุ่นและผู้ใหญ่ มักจะเริ่มปรากฏอาการท้องเดินเมื่ออายุประมาณ 3-5 ปี

บางรายอาจเป็นภาวะพร่องแล็กเทสชนิดทุติยภูมิ ซึ่งมักเกิดจากการติดเชื้อที่พบบ่อย ได้แก่ ท้องเดินจากไวรัสโรตาในทารก ท้องเดินจากเชื้อไกอาร์เดีย การติดเชื้อฉวยโอกาสในผู้ป่วยเอดส์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากการผ่าตัดลำไส้ออกไปปริมาณมาก ทำให้ลำไส้สร้างเอนไซม์แล็กเทสได้น้อยลง

ส่วนน้อยอาจเกิดจากความผิดปกติโดยกำเนิด ซึ่งสามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ ทำให้ผู้ป่วยพร่องเอนไซม์ชนิดนี้ตั้งแต่แรกเกิด และจะมีอาการแสดงของโรคนี้ไปจนตลอดชีวิต


อาการ

ผู้ป่วยจะมีอาการผิดปกติทางลำไส้เกิดขึ้นหลังบริโภคนมหรือผลิตภัณฑ์จากนม (เช่น ไอศกรีม น้ำสลัด เนย นมช็อกโกแลต) ประมาณ 30 นาทีถึง 2 ชั่วโมง อาการมากน้อยขึ้นกับความรุนแรงของภาวะพร่องแล็กเทสและปริมาณแล็กโทสที่บริโภค

ในรายที่เป็นไม่มาก มักมีอาการมีลมในลำไส้มาก ท้องอืด คลื่นไส้ และปวดบิดในท้อง โดยไม่มีอาการท้องเดิน

ในรายที่เป็นมากมักมีอาการท้องเดิน (ถ่ายเป็นน้ำหรือถ่ายเหลว) ร่วมด้วย ส่วนปริมาณนมที่บริโภคจนทำให้เกิดอาการท้องเดินนั้นแปรผันไปตามผู้ป่วยแต่ละราย บางรายดื่มนมได้วันละ 1-2 แก้วก็ไม่เกิดอาการ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย แต่บางรายเพียงดื่มนมปริมาณเล็กน้อยก็เกิดอาการท้องเดิน

ภาวะแทรกซ้อน

โดยทั่วไปมักไม่มีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง นอกจากสร้างความรำคาญ ส่วนทารกและเด็กเล็กที่อาศัยนมเป็นอาหารหลัก หากเกิดอาการท้องเดินเรื้อรังก็อาจทำให้น้ำหนักตัวไม่ขึ้นได้

โอกาสที่จะเป็นรุนแรงถึงขั้นขัดขวางการดูดซึมจนน้ำหนักลดและขาดสารอาหารนั้นมีน้อยมาก ถ้าพบมักเกิดจากการดูดซึมผิดปกติด้วยสาเหตุอื่น


ข้อมูลโรค: ภาวะพร่องแล็กเทส (Lactase deficiency) อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/disease-conditions