ผู้เขียน หัวข้อ: โรคปอดบวม ปอดอักเสบ  (อ่าน 185 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 499
  • รับโปรโมทเว็บ, บริการโพสประกาศ
    • ดูรายละเอียด
โรคปอดบวม ปอดอักเสบ
« เมื่อ: วันที่ 18 มกราคม 2024, 09:36:53 น. »
โรคปอดบวม ปอดอักเสบ คือ ภาวะติดเชื้อในปอด ซึ่งอาจจะเป็นข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้ ทั้งนี้ เนื่องจากในถุงลมปอดอาจมีของเหลวหรือหนองคั่งสะสม มีเสมหะสีเขียวเหลือง มีไข้หนาวสั่น และหายใจลำบากร่วมด้วย

โรคปอดบวม ปอดอักเสบ คือ ภาวะติดเชื้อในปอด ซึ่งอาจจะเป็นข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้ ทั้งนี้ เนื่องจากในถุงลมปอดอาจมีของเหลวหรือหนองคั่งสะสม มีเสมหะสีเขียวเหลือง มีไข้หนาวสั่น และหายใจลำบากร่วมด้วย


อาการของโรคปอดบวม ปอดอักเสบ

ผู้ที่เป็นโรคปอดบวม ปอดอักเสบจะมีอาการแตกต่างกันไป เช่น

    เจ็บหน้าอกเมื่อหายใจหรือไอ
    ผู้ป่วยสูงอายุอาจมีอาการซึมและสับสน
    ไอมีเสมหะ
    อ่อนเพลีย
    มีไข้ เหงื่อออกมากและหนาวสั่น
    มีอุณหภูมิร่างกายลดลงกว่าปกติ โดยเฉพาะ ในผู้ป่วยสูงอายุ หรือผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
    อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสียร่วมด้วย
    หายใจหอบถี่

 
เมื่อใดควรพบแพทย์

ผู้ป่วยในกลุ่มต่อไปนี้ ที่มีอาการหายใจลำบาก เจ็บหน้าอก มีไข้ต่อเนื่อง เช่นอุณหภูมิสูงเกิน 37.5 เซลเซียสขึ้นไป หรือมีอาการไอต่อเนื่อง ควรพบแพทย์ 

    เป็นผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป
    เป็นผู้ป่วยเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปีลงมา
    ผู้ที่มีโรคประจำตัวและระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
    ผู้ที่อยู่ระหว่างการทำเคมีบำบัดหรือรับยากดภูมิ


ปอดบวมเกิดจากสาเหตุใด?

โรคปอดบวมเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงและปล่อยให้เชื้อโรคบางชนิดเข้าสู่ปอดและเกิดการติดเชื้อลุกลามขึ้น แม้ว่าสุขภาพจะยังดีอยู่แล้ว แต่บางครั้ง เชื้อโรคเหล่านี้แข็งแรงมากจนระบบภูมิคุ้มกันต้านไม่ได้ โรคปอดบวมมี 4 ประเภท ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อโรคและตำแหน่งที่ติดเชื้อ ได้แก่: 

    โรคปอดอักเสบชุมชน (Community-acquired Pneumonia) ซึ่งพบได้บ่อยที่สุดและเกิดขึ้นนอกโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาล โดยทั่วไปเกิดจากแบคทีเรีย สิ่งมีชีวิตที่คล้ายแบคทีเรีย ไวรัส รวมถึง โควิด -19 
    ปอดอักเสบที่ติดมาจากโรงพยาบาล (Hospital-acquired Pneumonia)
    ปอดอักเสบที่เกิดจากการเข้ารับการบริการด้านสุขภาพ (Healthcare-associated Pneumonia)
    โรคปอดอักเสบจากการสำลักอาหาร หรือน้ำลาย (Aspiration Pneumonia)

 
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคปอดบวม

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคปอดบวม ได้แก่ : 

    เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
    มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคไต ตับแข็ง
    สูบบุหรี่
    มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอหรือกินยากดภูมิ

 
การวินิจฉัยโรคปอดอักเสบ ปอดบวม

แพทย์อาจเริ่มการวินิจฉัยด้วยการซักประวัติผู้ป่วยเพื่อทำความเข้าใจสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย พร้อมกับการตรวจร่างกายและตรวจสุขภาพอื่น ๆ เช่น: 

    การตรวจเลือด
    การถ่ายภาพด้วยรังสีเอ็กซ์ (Chest X-Ray)
    การตรวจวัดความอิ่มตัวออกซิเจนของฮีโมโกลบินจากชีพจร
    การตรวจเสมหะ

ในบางกรณี แพทย์อาจเลือกการตรวจเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ สำหรับผู้ป่วยที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปหรือมีอาการรุนแรง:

    การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
    การเพาะเชื้อจากของเหลวในเยื่อหุ้มปอด หรือการส่องกล้องผ่านหลอดลม


การรักษาโรคปอดบวม ปอดอักเสบ

แพทย์มักเลือกใช้วิธีการรักษาที่เน้นการรักษาการติดเชื้อและป้องกันภาวะแทรกซ้อน ตัวเลือกการรักษาอาจรวมถึง: 

    การใช้ยาปฏิชีวนะ
    การใช้ยาละลายเสมหะ ช่วยลดอาการไอ
    การใช้ยาลดไข้/ยาแก้ปวด


การเตรียมตัวก่อนพบแพทย์ 

ก่อนพบแพทย์ ผู้ป่วยควร

    เก็บบันทึกรายละเอียดอาการของผู้ป่วยที่เกิดขึ้น
    เตรียมรายการยาที่ผู้ป่วยเคยใช้หรือกำลังใช้อยู่ นำประวัติเก่ารวมทั้ง X-Ray ปอดที่เคยทำก่อนหน้า
    นำสมาชิกในครอบครัวหรือเพื่อนไปด้วย เพื่อช่วยจดจำคำถามที่จะถามและสิ่งที่แพทย์อธิบาย 
    เตรียมคำถามที่อาจต้องถามแพทย์

แพทย์มักจะถามคำถามหลายข้อในระหว่างการซักประวัติคนไข้ เช่น: 

    ผู้ป่วยสังเกตเห็นอาการครั้งแรกเมื่อใด
    ผู้ป่วยป่วยต่อเนื่องหรือเป็นแค่ครั้งคราว การรักษาที่ได้รับก่อนหน้าเป็นอย่างไร
    ผู้ป่วยเคยสัมผัสกับผู้ป่วยอื่นจากที่บ้าน โรงเรียน หรือที่ทำงานหรือไม่
    ผู้ป่วยเคยรับวัคซีนไข้หวัดหรือปอดบวมมาก่อนหรือไม่

 
การป้องกันโรคปอดอักเสบ ปอดบวม

เพื่อป้องกันไม่ให้อาการรุนแรงขึ้น ผู้ป่วยสามารถทำได้ดังนี้:

    งดสูบบุหรี่หรือสูดดมควันบุหรี่จากคนรอบข้าง
    ดื่มน้ำมาก ๆ
    พักผ่อนให้เพียงพอ




โรคปอดบวม ปอดอักเสบ อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/disease-conditions/151