ผู้เขียน หัวข้อ: ฉนวนกันเสียง: วิธีแก้เผ็ด ‘เพื่อนบ้านเสียงดัง’ แบบไม่ผิดกฎหมาย  (อ่าน 352 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 498
  • รับโปรโมทเว็บ, บริการโพสประกาศ
    • ดูรายละเอียด
อีกหนึ่งปัญหาการอยู่อาศัยที่พบบ่อย โดยเฉพาะในคอนโด บ้านแฝด และทาวน์เฮ้าส์ คือการที่ ‘เพื่อนบ้านส่งเสียงดังรบกวน’ หากทนอยู่ไปนาน ๆ เข้าก็จะทำให้เสียสุขภาพจิต สุขภาพกาย ตลอดจนหน้าที่การงานต่าง ๆ ได้


ปัญหาเรื่องเสียงที่พบบ่อยมีอะไรบ้าง?


ซ่อมหรือต่อเติมบ้านเสียงดังสนั่น

จริงอยู่ที่ว่าการซ่อมแซมต่อเติมบ้านนั้นเลี่ยงไม่ได้ที่จะไม่ให้เกิดเสียง เพราะต้องมีการตอก เจาะ ทุบ แต่หากมีเพื่อนบ้านสายไม่แคร์โลก ขาดมารยาทการอยู่ร่วมกัน ก็อาจจะไม่แจ้งล่วงหน้าให้เราได้รับทราบและเตรียมตัว และอาจจะเกิดกรณีที่แย่กว่านั้นคือ ให้ช่างเข้ามาทำงานกันตั้งแต่ช่วงเช้าตรู่หรือช่วงเช้ามืด ซึ่งอาจจะเป็นช่วงเวลาที่เราและเพื่อนบ้านคนอื่น ๆ กำลังพักผ่อนกันอยู่


พูดเสียงดัง

การพูดเสียงดังทำให้เป็นการรบกวนเพื่อนบ้านได้ โดยเฉพาะเพื่อนบ้านที่มีนิสัยชอบพูดเสียงดังอยู่เป็นปกติ นอกจากนั้น เสียงดังจากการทะเลาะหรือว่ามีเสียงตะคอกหรือกรี๊ดใส่กันก็ยังเป็นการรบกวนโสตประสาทเอามาก ๆ ครับ


เปิดทีวี เปิดเพลงเสียงดัง

ถึงแม้ว่าทีวีและเพลงเป็นเรื่องของความบันเทิง แต่ก็ไม่เสมอไปที่เสียงทีวีหรือเพลงจะสร้างความสนุกสนานให้กับทุกคน เพราะว่าไลฟ์สไตล์ ตาราเวลาชีวิตประจำวันของคนเราไม่เหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น เพื่อนบ้านเปิดหนังแอคชั่นดูกันอย่างเสียงดัง ในขณะที่เรากำลังทำงาน หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่ต้องใช้สมาธิ หรือตอนกลางดึกระหว่างที่เรากำลังนอนหลับพักผ่อนอยู่


จัดปาร์ตี้สังสรรค์กัน

การจัดปาร์ตี้หรืองานเลี้ยงสังสรรค์กันนั้น เมื่อมีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้าปากแล้วก็จะยิ่งเสริมความเฮฮาและทำให้เสียงดังมากขึ้นไปอีก ในบางครั้งอาจจะเฮฮาปาร์ตี้กันจนดึกดื่นหรือโต้รุ่ง ซึ่งเป็นการก่อเสียงดังยามวิกาลที่ทำให้เพื่อนบ้านหลังอื่นหรือห้องอื่นที่อยู่ใกล้เคียงนอนหลับพักผ่อนกันไม่ได้ครับ


วิธีแก้เผ็ดแบบไม่ผิดกฎหมาย

สำหรับปัญหาเหล่านี้ หากทนไปก็มีแต่จะทำให้เสียทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต เมื่อพบเจอขอแนะนำให้รีบแก้ไขปัญหาโดยใช้วิธีการแบบเบาไปหาหนักครับ สามารถทำได้ตามนี้


หาอุปกรณ์ช่วยป้องกันเสียง

เป็นวิธีการแบบเริ่มต้นในการช่วยป้องกันหรือลดความดังของเสียงลง สามารถทำได้ด้วยตัวเอง ได้แก่

    ปิดช่องโหว่ต่าง ๆ เพื่อไม่ให้เสียงเข้ามา – สามารถเลือกใช้หน้าต่างแบบบานปิดตาย บานเปิด หรือบานกระทุ้ง เพราะมีลักษณะที่สามารถปิดได้สนิท และไม่ควรใช้หน้าต่างแบบบานเกล็ดหรือบานเลื่อน เนื่องจากยังมีช่องว่างที่ให้เสียงเล็ดลอดเข้ามาได้ครับ และสำหรับประตูก็ควรหาแผ่นซิลิโคน แผ่นโฟม หรือแผ่นยางมาปิดช่องว่างระหว่างบานประตูกับพื้นใต้ประตู ก็จะเป็นการช่วยป้องกันเสียงเล็ดลอดได้อีกทางครับ

    ใช้วัสดุดูดซับเสียง – อย่างเช่น พรมแบบหนา ผ้าม่านแบบหนา แผ่นดูดซับเสียง และวอลเปเปอร์ชนิดหนาแบบโฟม วัสดุเหล่านี้สามารถช่วยดูดซับเสียงและลดความดังน่ารำคาญของเสียงได้ครับ

    วางตำแหน่งเตียงนอนและโต๊ะทำงานให้อยู่ห่างจากผนัง – แน่นอนอยู่แล้วว่าระยะห่างจากผนังห้องถึงเตียงนอน หรือโต๊ะทำงาน มีผลกับปริมาณเสียงรบกวนที่จะกระทบหูของเรา โดยเฉพาะในเวลานั่งทำงานหรือนอนหลับพักผ่อน ดังนั้นการวางในตำแหน่งที่ห่างออกมาก็จะช่วยได้ในระดับนึงครับ

    ติดเฟอร์นิเจอร์แบบบิวท์อิน – การติดเฟอร์นิเจอร์แบบบิวท์อินบนผนังห้องฝั่งที่ติดกับเพื่อนบ้านสามารถลดทอนการหักเหของคลื่นเสียง และทำให้เสียงเดินทางเข้ามาในห้องได้น้อยลงครับ จะเป็นการติดชั้นวางของ ตู้เก็บของ หรือตู้เสื้อผ้าก็ได้ ตามจุดประสงค์การใช้งานเลยครับ

    ปลูกต้นไม้แบบพุ่มรอบบ้าน – การปลูกต้นไม้แบบพุ่มสามารถช่วยสะท้อนเสียงที่เข้ามาในบ้านได้ สำหรับคนที่อาศัยอยู่ในบ้านแฝดก็สามารถหาไม้พุ่มที่ตัวเองชอบมาปลูกเป็นแนวรั้วฝั่งที่ติดกับเพื่อนบ้าน แต่สำหรับคนที่อยู่อาศัยในทาวน์เฮ้าส์ หรือคอนโด อาจจะปลูกต้นไม้จริงที่บริเวณระเบียง และใช้พุ่มไม้เทียมหรือพุ่มไม้จริงแบบที่ไม่แย่งออกซิเจนหายใจ ติดบนฝาผนังฝั่งที่ติดกับเพื่อนบ้านครับ


เข้าไปพูดคุยเจรจาด้วยตัวเอง

หากใช้วิธีการแบบเริ่มต้นแล้วไม่ได้ผล เพราะเสียงจากเพื่อนบ้านดังรบกวนมากจริง ๆ ให้ลองแก้ปัญหาด้วยการเข้าไปพูดคุยเกริ่นถึงปัญหาเสียงดังที่เกิดขึ้น อาจจะมีของติดไม้ติดมือเล็ก ๆ น้อย ๆ ไปฝากเพื่อเป็นการสร้างมิตรภาพที่ดี ถ้าเกิดว่าเพื่อนบ้านพอจะคุยกันรู้เรื่องและยอมรับฟังปัญหาที่เกิดขึ้น ก็ขอให้ช่วยลดเสียง หรืออย่าส่งเสียงดังในช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสม อย่างเช่นตอนกลางคืนที่ทุกคนนอนหลับพักผ่อนครับ


ขอความช่วยเหลือจากนิติบุคคล

สำหรับคนที่พักอาศัยในหมู่บ้านจัดสรร หรือโครงการคอนโด หากไม่สามารถพูดคุยเจรจากับเพื่อนบ้านได้ หรือเข้าไปขอร้องอย่างมีมารยาทแล้วไม่ได้ผล ลำดับต่อไปที่ต้องทำก็คือ เข้าไปแจ้งนิติบุคคลให้รับทราบ เพราะว่านิติบุคคลมีหน้าที่ดูแลปัญหาภายในโครงการที่เราอยู่อาศัยอยู่แล้ว และเพื่อที่นิติบุคคลจะได้เข้าไปคุยและแจ้งเตือนกับเพื่อนบ้านเจ้าปัญหาให้หยุดสร้างเสียงรบกวนคนอื่น


ใช้กฎหมาย

ในกรณีที่ทำทุกวิถีทางที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้วไม่ได้ผล ก็ขอให้จัดการกับเพื่อนบ้านด้วยวิธีทางกฎหมาย ซึ่งก็มีทั้งทางแพ่งและทางอาญาครับ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และ 421 ระบุไว้ว่า ‘ผู้ที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นในด้านชีวิต ร่ายกาย อนามัย เสรีภาพ หรือสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง’ อย่างเช่นในกรณีเพื่อนบ้านส่งเสียงดัง ถือว่าเป็นการรบกวนการพักผ่อนซึ่งละเมิดสิทธิในการอยู่อาศัยและมีผลต่อสุขภาพอนามัย ศาลสามารถออกคำสั่งให้เพื่อนบ้านหยุดพฤติกรรมส่งเสียงดังได้ และเพื่อนบ้านก็ต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนหากเกิดความเสียหาย

สำหรับ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 370 ได้ระบุว่า ‘ผู้ที่ส่งเสียงดังอันไม่มีเหตุอันสมควรและทำให้บุคคลอื่นเดือดร้อน’ มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท และตาม มาตรา 371 หากเป็นการ ‘ส่งเสียงดังที่คุกคามต่อคนจำนวนมาก’ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับครับ



ฉนวนกันเสียง: วิธีแก้เผ็ด ‘เพื่อนบ้านเสียงดัง’ แบบไม่ผิดกฎหมาย อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://noisecontrol365.com/